- ศิลปะและฟิสิกส์ คู่ที่แปลกหน้าต่อกัน -
ศิลปะและฟิสิกส์คือคู่ที่ค่อนข้างจะแปลกหน้าต่อกัน ในสาขาวิชาต่างๆ มากมายของมนุษย์นั้น สามารถจะแบ่งเป็นเพียงสองวิชานี้ได้ไหม ที่ดูเหมือนจะเบนออกจากกันอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือศิลปินใช้จินตนาภาพและวิธีการอุปมาอุปมัย, ส่วนนักฟิสิกส์ใช้ตัวเลขและสมการ
ศิลปะตีวงอยู่รอบๆ อาณาเขตแห่งจินตนาการของคุณภาพเชิงสุนทรีย์ เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกที่ดึงออกมา, ส่วนฟิสิกส์ดำรงอยู่ในโลกของความสัมพันธ์ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ที่โอบล้อมเป็นละลอกท่ามกลางคุณสมบัติต่างๆ ฟิสิกส์เป็นวิทยาศาสตร์ที่แน่นอน มีความน่าเชื่อถือ. โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ให้การสนับสนุนแต่ละกลุ่ม(ศิลปะและฟิสิกส์) ค่อนข้างมีทัศนคติที่ตายตัวและมีความเห็นตรงข้ามกันคนละขั้วเลยทีเดียว
ในมหาวิทยาลัย นักศึกษาศิลปะซึ่งมีความรู้และความคิดก้าวหน้า โดยปกติ พวกเขาจะไม่ผสมปนเปกับคู่เหมือนของเขาในวิชาฟิสิกส์, ด้วยการเทียบเคียงกันโดยบังเอิญ (ศิลปะและฟิสิกส์ให้ความสนใจในเรื่องแสง สี รูปทรง และอื่นๆ คล้ายกัน) แต่อย่างไรก็ ตามความรู้ทั้งสองสาขานี้ในเชิงการศึกษา ดูเหมือนว่าจะมีบางสิ่งบางอย่างร่วมกันน้อยมาก. มีไม่มากนัก หากจะมีการอ้างอิงบ้างในเชิงศิลปะกับตำรามาตรฐานบางเล่มของวิชาฟิสิกส์ ส่วนนักประวัติศาสตร์ศิลป์ทั้งหลายก็แทบจะไม่เคยตีความผลงานของศิลปินคนหนึ่งคนใดที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องแสง ในแนวทางความคิดที่อยู่ในกรอบโครงของวิชาฟิสิกส์เลย
แม้ว่า ทั้งๆ ที่สิ่งที่ปรากฏออกมานั้นจะดูเหมือนว่ามีความแตกต่างกันจนไม่อาจปรองดองกันได้ แต่ก็ยังมีลักษณะเบื้องต้นบางอย่างที่เกี่ยวโยงกันอย่างเป็นรูปธรรมในสาขาวิชาเหล่านี้. ศิลปะในเชิงปฏิวัติ (Revolutionary art ) และฟิสิกส์เกี่ยวกับภาพทางสายตา (visionary physics) ทั้งสองวิชานี้เป็นเรื่องของการสืบสวนเข้าไปหาธรรมชาติของความเป็นจริงด้วยกันทั้งคู่
Roy Lihtenstein, ศิลปิน Pop art ของทศวรรษ 1960 เคยประกาศเอาไว้ว่า “การรวมเอาความรับรู้ คือสิ่งที่ศิลปะไปเกี่ยวข้องทั้งหมด, ส่วน Sir lssac Newton อาจจะพูดขึ้นมาในทำนองนี้เช่นเดียวกันเกี่ยวกับฟิสิกส์ พวกเขาได้ถูกนำเข้าไปเกี่ยวข้องกับการรับรู้ที่เป็นองค์ระบบด้วยเหมือนกัน ในขณะที่ระเบียบวิธีของทั้งสองศาสตร์นั้นแตกต่างกันอย่างถึงรากทีเดียว. ศิลปินและนักฟิสิกส์ต่างก็มีส่วนในความปรารถนาที่จะค้นหาหนทางที่เป็นชิ้นส่วนซึ่งประสานกันอย่างแนบแน่นของความจริง อันนี้คือพื้นฐานที่มีอยู่ร่วมกัน ซึ่งทำให้ศาสตร์ทั้งสองมาบรรจบกัน
Paul Gauguin เคยพูดเอาไว้ครั้งหนึ่งว่า “ศิลปินนั้น มีอยู่เพียงสองประเภทเท่านั้น กล่าวคือ ประเภทแรกเป็นพวกที่ชอบปฏิวัติ และประเภทที่สองเป็นพวกที่ชอบคัดลอกผลงานของคนอื่นมาเป็นของตน(plagiarists)” ศิลปะประเภทที่จะนำมาพูดคุยในบทความชิ้นนี้ จัดเป็นพวกปฏิวัติทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะมันเป็นผลงานของคนที่นำเอาความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญมาสู่โลกทรรศน์ของอารยธรรม, และในหนทางที่ขนานกัน แม้ว่าพัฒนาการของฟิสิกส์ บ่อยครั้งมักจะขึ้นอยู่กับการสนับสนุนต่างๆ มากมายของผู้ทำงานที่เป็นคนซึ่งมีความคิดริเริ่มและเป็นผู้ที่อุทิศตนอย่างมาก แต่ก็มีโอกาสอันน้อยนิดเท่านั้นของประวัติศาสตร์ที่นักฟิสิกส์คนหนึ่ง จะมีความเข้าใจที่อยู่เหนือโลกแห่งเหตุผล (transcendent insight) ในฐานะที่เป็น “เพลิงขนาดใหญ่ของความแจ่มแจ้ง” (conflagration of clarity) ซึ่งได้ยอมให้ศิลปินและนักฟิสิกส์บางคนได้เห็นในสิ่งที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อนหรือจินตนาการไปถึง และเป็นพวกเขานั่นแหละ – ศิลปินนักปฏิวัติและนักฟิสิกส์ที่เกี่ยวกับภาพทางสายตา – ผู้ซึ่งได้รับการจับคู่กันในหน้าประวัติศาสตร์
นักฟิสิกส์ ก็คล้ายกับนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ คือเริ่มต้นด้วยการแบ่งแยก “ธรรมชาติ” ออกเป็นส่วนๆ ที่แตกต่างของความเป็นจริงมาวางเคียงกันและสังเคราะห์มันเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงอยู่บนกระบวนการ การทำให้สมบูรณ์ (Completion), ผลงานทั้งหมด นั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าผลบวกของส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน มันค่อนข้างจะเป็นการตัดกันในเรื่องของเทคนิคที่นำมาใช้โดยศาสตร์ทั้งสองนี้ นักเขียนนวนิยาย Vladimir Nabokov (*) เขียนเอาไว้ว่า “มันไม่มีวิทยาศาสตร์ที่ปราศจากจินตนาการ-ความคิดฝัน และมันไม่มีศิลปะที่ปราศจากความจริง”
(*)Vladimir Vladimirovich Nabokov (April 22 [O.S. April 10] 1899, Saint Petersburg – July 2, 1977, Montreux) was a multilingual Russian-American novelist and short story writer. Nabokov wrote his first nine novels in Russian, then rose to international prominence as a master English prose stylist.